Home
ขอบคุณที่มาภาพจาก peritoanimal
สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่เข้ากับคนได้ง่าย มีความเฉลียวฉลาด ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากเจ้าของ สุนัขเบื่อเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ขาดการกระตุ้นทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสม ไม่ได้ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมเท่าที่ควร รวมทั้งการถูกปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่เพียงลำพังก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สุนัขเบื่อได้เช่นกัน แต่ทว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขเบื่อ วันนี้เรามีอาการเบื่อของสุนัขที่สามารถสังเกตได้ด้วย 5 ข้อดังต่อไปนี้
เมื่อสุนัขเบื่อพวกเขาจะมีสุขภาพจิตที่ไม่ปกติ และพวกเขาจะแสดงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรม โดยมักจะทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ไม่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน เช่น เลียตัวเองมากเกินไป หากสุนัขมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป เพราะอาการเบื่ออาจนำไปสู่ปัญหาของโรคซึมเศร้าได้
สุนัขเบื่อจะมีการกระตุ้นทางร่างกายและจิตใจ ความเบื่อหน่ายจะส่งเสริมให้สุนัขกัดและทำลายสิ่งของภายในบ้าน และมักจะเกิดขึ้นในสุนัขที่มีพลังมหาศาล ดังนั้นเพื่อกำจัดความเบื่อหน่ายออกไปจากสุนัขจึงควรพาสุนัขไปออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงานของสุนัขลง เพื่อลดพละกำลังที่มีอยู่ในตัวสุนัข
สุนัขที่ขาดสิ่งเร้าและแรงจูงใจจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน หากสุนัขของคุณรู้สึกเบื่อและรำคาญ พวกเขาอาจส่งเสียงเห่ามากกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจ นอกจากนี้ การเห่าที่ผิดปกติยังเกี่ยวข้องกับสถานการณ์อื่น ๆ เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ หรือเพื่อนฝูงของพวกเขา เป็นต้น
เมื่อสุนัขเบื่อ พวกเขาจะเริ่มไม่เชื่อฟังคำสั่งของคุณ แม้ว่าคุณจะพยายามฝึกฝนพวกเขาอย่างไรก็ตาม แต่การฝึกฝนอย่างหนักอาจทำให้สุนัขรู้สึกเบื่อได้เช่นกัน และทำให้ไม่เชื่อฟังคำสั่งของคุณได้ เพราะฉะนั้นเพื่อบรรเทาความเบื่อหน่ายของสุนัขควรหากิจกรรมอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้สุนัขทำกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนานยิ่งขึ้น
ความเบื่อหน่ายอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในสุนัขบางตัว ทำให้สุนัขมีความเฉื่อยชา เศร้า เบื่ออาหาร รวมถึงอาการอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นเมื่อสุนัขเบื่อ จึงควรพยายามค้นหาสาเหตุของความเบื่อหน่ายว่ามาจากสาเหตุใด เพื่อป้องกันไม่ให้พัฒนาไปสู่ความซึมเศร้าในสุนัข หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือสาเหตุของความเบื่อหน่าย แนะนำให้ลองปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อหาทางวินิจฉันอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของสุนัขอยู่เสมอว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยที่ชัดเจนว่าสุนัขมีความผิดปกติในด้านใด เมื่อทราบสาเหตุที่ชัดเจนสัตวแพทย์ก็จะทำการรักษาสุนัขหรือแนะนำวิธีการในการบำบัดดูแลได้อย่างถูกต้อง
Your email address will not be published. Required fields are marked *
Comment *
Name *
Email *
Website
Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment.