การดูแลสัตว์เลี้ยง
วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง

ความจริงแล้วสุนัขกินถั่วได้หรือไม่

สุนัขกินถั่ว

ขอบคุณที่มาภาพจาก misshomemade

คำถามที่หลายคนสงสัย คือ สุนัขกินถั่วได้หรือไม่ ถั่วมีประโยชน์หรือเป็นโทษกับสุนัขเหมือนกับมนุษย์บางคนที่แพ้ถั่วหรือไม่ วันนี้เราจะมาเฉลยกันว่า สุนัขกินถั่วได้หรือไม่ และมีชนิดใดบ้างที่สุนัขกินได้อย่างปลอดภัย

ถั่วลิสง

ถั่วลิลงปลอดภัยกับสุนัขก็จริง แต่ก็ควรปราศจากเกลือ คาราเมล และช็อคโกแลต นอกจากนี้ไม่ควรให้สุนัขกินถั่วลิสงทั้งเปลือก เพราะอาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารของสุนัขได้ อีกทั้งถั่วลิสงมีไขมันสูง จึงควรให้กินในปริมาณน้อยที่สุด ในส่วนของเนยถั่วสุนัขก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน แต่ควรเลือกเนยถั่วชนิดที่ปราศจากสารกันบูด โซเดียม และน้ำตาลเทียม และจำกัดปริมาณการให้เพียงแค่ 1 ช้อนเท่านั้น

เม็ดมะม่วงหิมพานต์

สุนัขกินถั่วอย่างเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ แต่อาจไม่บ่อยนักเพราะ การกินมากเกินไปทำให้ปวดท้อง ท้องร่วงได้ ขณะเดียวกันเม็ดมะม่วงหิมพานต์จะต้องผ่านการปรุงสุกโดยการคั่วหรืออบแล้วเท่านั้น เนื่องจากเมล็ดดิบเป็นพิษต่อร่างกายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้สุกด้วยอุณหภูมิสูง

สุนัขกินถั่ว

ขอบคุณที่มาภาพจาก creativemarket

พิสตาชิโอ

เป็นถั่วที่มีไขมันสูง แม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่เป็นพิษต่อสุนัข แต่หากสุนัขกินถั่วชนิดนี้จะได้รับปริมาณไขมันสูงทำให้ป่วยได้ หากให้สุนัขชิมเพียงเล็กน้อยสามารถทำได้ แต่ไม่แนะนำให้กินในจำนวนมาก เพราะไขมันสูงในถั่วบางชนิด เช่น พิสตาชิโอ พีแคน แมคคาเดเมีย ส่งให้สุนัขอาเจียน ท้องร่วง หรือบางครั้งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

ถั่วแมคคาเดเมีย

มักนำมาเป็นส่วนผสมของขนมอบ เช่น คุกกี้ เค้ก เป็นต้น แมคคาเดเมียส่งผลทำให้เกิดอาการอาเจียนหรือภาวะซึมเศร้าได้ ขณะที่การให้สุนัขกินแบบดิบ อาจทำให้ป่วยจากพิษของถั่วได้เช่นกันอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ กล้ามเนื้อสั่น อาเจียน อัมพาตส่วนหลัง แม้จะเป็นถั่วที่มีประโยชน์สูง แต่ไม่ก็ไม่ควรให้รับประทานมาก โดยเฉพาะชนิดเคลือบช็อกโกแลต

สุนัขกินถั่ว

ขอบคุณที่มาภาพจาก livestrong

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าถั่วจะไม่เป็นพิษต่อสุนัขแต่ก็มีปริมาณไขมันสูง ขณะเดียวกันสุนัขไม่สามารถเคี้ยวถั่วได้เหมือนกับมนุษย์ จึงอาจเป็นอันตราย เช่น สำลักหรือติดคอ ทั้งยังมีผลทำให้ลำไส้อุดตันได้ ดังนั้นหากจะให้สุนัขรับประทานจึงต้องควบคุมและดูแลอย่างดีหรือทำให้ถั่วมีความละเอียดมากขึ้น เพื่อให้สุนัขรับประทานได้ง่าย

นอกจากนี้ อัลมอนด์เป็นถั่วที่ไม่ค่อยเป็นมิตรต่อระบบทางเดินอาหารของสุนัขเท่าที่ควร อาจกีดขวางระบบย่อยอาหารของสุนัข ขณะที่ถั่วพีแคนเหมาะกับมนุษย์มากกว่าสุนัข เพราะพีแคนมีสารพิเศษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า juglone เป็นพิษต่อสุนัข เมื่อสุนัขกินถั่วพี่แคนในปริมาณมากจะทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนหรือกีดขวางทางเดินอาหารได้