Home
ขอบคุณที่มาภาพจาก goodhousekeeping
สุนัขบางตัวเผชิญกับการติดเชื้อยีสต์ในสุนัขได้ง่าย แม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี แต่เชื้อยีสต์อาจกลับมาทำลายสุขภาพของสุนัขได้ เจ้าของหลายคนทำการรักษาเชื้อยีสต์ด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันเพื่อความปลอดภัยคุณสามารถทำการดูแลรักษาอาการติดเชื้อยีสต์ในสุนัขด้วยวิธีธรรมชาติด้วยสิ่งดังต่อไปนี้
1. น้ำมันมะพร้าว
มีกรดคาปริลิกโกลด์สตีนรักษาเชื้อราในมนุษย์ได้ และยังใช้รักษายีสต์ในหูสุนัข หากต้องการรักษาเชื้อยีสต์ในสุนัข ทำได้ด้วยการผสมน้ำมันมะพร้าวคุณภาพดี 1-2 ช้อนชา ให้สุนัขรับประทานโดยสัดส่วนนี้สำหรับสุนัขที่มีขนาดเล็ก แต่หากเป็นสุนัขขนาดใหญ่ควรปรับเปลี่ยนเป็น 1-2 ช้อนโต๊ะ เทผสมในอาหารให้สุนัขรับประทานเพื่อรักษาการติดเชื้อยีสต์ในสุนัข หรือจะเลือกชนิดแคปซูลเปิดฝาออกแล้ผสมในอาหารให้สุนัขกินก็ได้เช่นกัน นอกจากการกินแล้วยังสามารถนำมาทาเพื่อทำการรักษาได้อีกด้วย โดยอุ่นน้ำมันมะพร้าวให้ร้อนจากนั้นใช้สำลีชุบเพื่อทำความสะอาดในช่องหูหรืออุ้งเท้าของสุนัข
2. การเปลี่ยนแปลงอาหาร
ยีสต์เติบโตได้ดีส่วนหนึ่งมาจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูปบางชนิด คาร์โบไฮเดรต ธัญพืช ซีเรียล เป็นต้น อาหารเหล่านี้ส่งผลให้ยีสต์เจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากยีสต์ชอบน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต ด้วยเหตุนี้ การติดเชื้อยีสต์ในสุนัขจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของยีสต์ ลดคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลจะได้ผลดี
ขอบคุณที่มาภาพจาก helloglow
3. โปรไบโอติก
การติดเชื้อยีสต์ในสุนัขมักจะไม่เกิดขึ้นหากมีสุขภาพลำไส้ที่ดี หรือมีแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อยีสต์ที่ดีเติบโตในลำไส้จะหมุนเวียนไปตามกระแสเลือดและไปสู่ผิวหนัง ดังนั้น ควรส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติก หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโปรไบโอติก
4. น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์
หากปัญหายีสต์ไม่รุนแรงสามารถใช้น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์เจือจางกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:1 เช็ดล้างหูและใบหูให้แห้ง ด้วยน้ำส้มสายชูเข้มข้น 2% จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ทำความสะอาดอุ้งเท้าและบริเวณเท้าของสุนัข เพื่อลดการสะสมของเชื้อยีสต์ในสุนัข อย่าใช้น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์โดยตรงเพราะหากไม่ผสมน้ำและนำไปเช็ดทำความสะอาดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของสุนัขได้อาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อยีสต์ในสุนัขควรได้รับการวินิจฉัยและทำการรักษาโดยตรงจากสัตวแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของสุนัข
ขอบคุณที่มาภาพจาก totalbeauty