การดูแลสัตว์เลี้ยง
วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง

3 ขั้นตอนในการปฐมพยาบาลเมื่อกระต่ายเล็บหักหรือหลุด

กระต่ายเล็บหัก

ขอบคุณภาพที่มาจาก petzlover

เป็นเรื่องธรรมดาที่กระต่ายเล็บหักหรือต้องเผชิญกับเล็บหลุด รวมถึงการฉีดขาดของเล็บ การเล็บหักเป็นการบาดเจ็บซึ่งพบได้ทั่วไปของกระต่าย และมีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นซึ่งง่ายและรับมือได้ไม่ยากด้วยกัน 3 ขั้นตอนสำคัญและอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด เมื่อกระต่ายเล็บหักหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณเล็บ โดยทั่วไปกระต่ายจะมีพฤติกรรมเลียบริเวณเล็บที่ได้รับบาดเจ็บ หากได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยการเลียจะทำให้กระต่ายหายได้เอง นอกจากกรณีที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงมีเลือดไหลไม่หยุด ควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกระต่ายเล็บหักด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

ออกแรงกดที่เล็บของกระต่าย เป็นขั้นตอนแรก

กระต่ายเล็บหักไม่ว่าจะมีเลือดออกหรือไม่ ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีก้านกดบริเวณเล็บเป็นเวลาประมาณ 1 นาที จากนั้นนำสำลีออกเพื่อสังเกตว่ายังมีเลือดออกอยู่หรือไม่ โดยวิธีการกดนั้นจะต้องทำอย่างเบามือ เพื่อป้องกันไม่ให้กระต่ายตกใจ และเจ็บไปมากกว่านี้ ซึ่งจะต้องทำการล็อกตัวไม่ให้กระต่ายเคลื่อนไหวอันจะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดจากการเล็บหักมากขึ้น

กระต่ายเล็บหัก

ขอบคุณภาพที่มาจาก archaeology

ห้ามเลือดด้วยการใช้แป้งข้าวโพดหรือแป้งฝุ่นทา เป็นขั้นตอนต่อไป

เมื่อใช้สำลีกดเล็บกระต่ายที่หักแล้วพบว่าเลือดยังคงไม่หยุดไหล ลองใช้วิธีการห้ามเลือดโดยใช้แป้งข้าวโพดทาหรือแป้งฝุ่นเข้าช่วย เพื่อเป็นการห้ามเลือด ให้ทาแป้งลงไปที่เล็บโดยตรง กะปริมาณของแป้งให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและทำการกดที่เล็บกระต่ายด้วยสำลีก้านประมาณ 1 นาที เพื่อเป็นการห้ามเลือด จากนั้นยกมือออกสังเกตที่สำลีว่ามีเลือดอยู่หรือไม่ หากยังคงมีเลือดอยู่ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ในส่วนของแป้งที่ใช้ในกรณีที่กระต่ายเล็บหัก แนะนำให้เลือกแป้งข้าวโพดจะดีกว่า เนื่องจากกระต่ายอาจเลียกินแป้ง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับกระต่ายจึงควรเลือกเป็นแป้งข้าวโพดจะปลอดภัยกว่า และควรเช็ดแป้งข้าวโพดออกอย่างระมัดระวัง

กระต่ายเล็บหัก

ขอบคุณภาพที่มาจาก mascotea

ปล่อยให้กระต่ายใช้ชีวิตตามปกติ

กระต่ายเล็บหัก หลังจากที่เลือดหยุดไหลให้ทำความสะอาดบริเวณเล็บหักด้วยการปัดแป้งข้าวโพดออกอย่างระมัดระวัง จากนั้นสามารถปล่อยให้กระต่ายเดินได้ตามปกติ โดยทั่วไปกระต่ายจะเลียบาดแผลของตนเองจนสะอาด แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะน้ำลายของกระต่ายจะไม่เป็นอันตรายต่อบาดแผล อีกทั้งการเลียจะทำให้บาดแผลสะอาดขึ้นและป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี

จากนี้กระต่ายเล็บหักจะใช้ชีวิตได้ตามปกติราวกับว่าไม่เคยเกิดเล็บหักมาก่อน และอีก 2 – 3 วันควรตรวจสอบบริเวณเล็บหักอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการอักเสบของบาดแผลหรือเกิดการติดเชื้อใด ๆ บริเวณเล็บหรือเท้าของกระต่าย เล็บที่ฉีกขาดมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าเล็บที่หักหรือถูกตัด อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบให้แน่ใจ หากเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ อันจะนำไปสู่อาการบาดเจ็บที่รุนแรงควรนำกระต่ายไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป