Home
ขอบคุณที่มาภาพจาก rabbitholehay
กระต่ายเจ็บป่วยไม่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ บางครั้งในอาการป่วยที่รุนแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการวินิจฉัยและตรวจสอบอาการป่วยให้ละเอียดโดยสัตวแพทย์ ซึ่งสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกถึงความเจ็บปวดของกระต่ายมีด้วยกันดังนี้
มีกิจกรรมลดลง เช่น กระต่ายไม่ยอมเคลื่อนไหว หรือหากมีการเคลื่อนไหวก็ทำได้ช้ามาก บางครั้งกระต่ายเจ็บป่วยอาจมีอาการเดินที่ผิดตปกติ เช่น เดินกะเผลก นอกจากนี้ ยังพบว่าพวกเขาเกียจคร้านและไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากกลุ่ม สังเกตได้จากพวกเขาพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสและใกช้ชิดกับผู้คนรอบข้าง
การเปลี่ยนแปลงความต้องการอาหาร เบื่ออาหารหรือกินน้อยลง รวมทั้งใช้เวลาในการกินอาหารนานขึ้นกว่าปกติ และสามารถสังเกตได้ว่าพวกเขามักทำอาหารหลุดจากปากบ่อย ๆ เมื่อไม่ดื่มน้ำ ร่างกายก็จะเผชิญกับภาวะขาดน้ำ ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น ขนไม่สวย ดวงตาหย่อนคล้อย เป็นต้น
ปัญหาเกี่ยวกับตา เช่น มีน้ำตาไหล ตาปิด ตาเหล่ หรือตาเปลี่ยนสีไปจากเดิม รูม่านตาขยาย เป็นต้น
ขอบคุณที่มาภาพจาก be.chewy
รูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น ไม่ยอมนอน หรือเปล่งเสียงครวญครางเวลานอนหลับ
อาการอื่น ๆ เช่น มีอาการเกร็งหน้าท้อง งอหลัง เอาหัวชนผนัง แสดงอาการก้าวร้าว หายใจลำบาก น้ำลายไหล กัดฟันเสียงดังโดยเฉพาะเมื่อปัสสาวะและถ่ายอุจจาระ เป็นต้น
สัญญาณความเจ็บป่วยของกระต่ายข้างต้น บางส่วนเกิดการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่หากมีอาการเจ็บป่วยที่บ่งบอกถึงความรุนแรงเรื้อรัง ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันทีเพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม เราสามารถแยกอาการเจ็บปวดของกระต่ายได้ดังนี้
เจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น มีน้ำตาไหล ท้องผูก ท้องร่วง ซึมเศร้า ดื่มน้ำและอาหารได้น้อยลง ก้าวร้าวดุร้าย เปล่งเสียงและขบฟันเสียงดังเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง ผมแห้ง ขาดน้ำ เคลื่อนไหวช้าลง กัดฟัน อุจจาระติดทวารหนัก สังเกตมวลกล้ามเนื้อขาหลังมีน้อย ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ขอบคุณที่มาภาพจาก thesprucepets
เรามาดูกันสิว่ามีกรณีใดบ้างที่สามารถให้ยากับกระต่ายเจ็บป่วยตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด โดยทั่วไปควรมองหาสาเหตุของอาการทางคลินิกดังต่อไปนี้ เพื่อให้ยาแก้ปวดแก่กระต่ายของคุณ
มีความวิตกกังวลผิดปกติไปจากที่เป็นอยู่เสียงร้องครวญครางอาการกัดฟันรุนแรงเคลื่อนไหวช้าลงหรือไม่เคลื่อนไหวเบื่ออาหารและไม่ยอมดื่มน้ำน้ำหนักลดลง
ดังนั้น เมื่อเราพบสัญญาณเจ็บป่วยเรื้อรังหรือร้ายแรงของกระต่ายเจ็บป่วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะการได้รับการวินิจฉัยอาการป่วยจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้กระต่ายเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานน้อยลง อีกทั้งยังมีโอกาสสูงมากที่จะรักษาอาการป่วยให้หายขาด เช่นเดียวกับการรักษาด้วยยา หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวดแกกระต่ายป่วยโดยปราศจากคำแนะนำของสัตวแพทย์ จึงให้ยาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น เพราะยาแก้ปวดควรให้ในปริมาณที่เหมาะสม