ขอบคุณที่มาภาพจาก thehappypuppysite
นับเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมในการดูแล สุนัขตั้งครรภ์ ในช่วงที่ สุนัขตั้งครรภ์ นี้มักมีอะไรเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมน น้ำหนัก ความอยากอาหาร และพฤติกรรม เป็นต้น ซึ่งไม่แตกต่างจากมนุษย์ที่กำลังตั้งครรภ์เท่าใดนัก
สัญญาณการ ตั้งครรภ์ในสุนัข อาจไม่ชัดเจนนักจนกว่าจะผ่านเดือนแรกไป ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการตกขาว 1 เดือนในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ อาการนมบาม หน้าท้องบวมป่อง (สังเกตได้ 2-3 สัปดาห์ใกล้คลอด) หากไม่แน่ใจควรปรึกษาสัตวแพทย์ โดยสัตวแพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ การคลำท้อง และการทดสอบฮอร์โมน
ขอบคุณที่มาภาพจาก petsfunnies
ในช่วงนี้สุนัขจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายและพฤติกรรมบางอย่าง เช่น มีอาการแพ้ท้อง เซื่องซึม ซึมเศร้า เบื่ออาหาร หรือกินอาหารมากกว่าปกติ มีพฤติกรรมข่วนพื้นที่เพื่อเริ่มกักตุนอาหาร มีพฤติกรรมอยากทำรัง ในระหว่างตั้งครรภ์สุนัขจะหงุดหงิดกับเสียงดังและคนแปลกหน้ามากเป็นพิเศษ
การดูแลสุนัขตั้งครรภ์
ควรเอาใจใส่ในเรื่องโภชนาการและสุขภาพ เน้นอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุสูง เนื่องจากสุนัขมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าจากปกติ ดังนั้นจึงต้องให้อาหารเพิ่มสำหรับ สุนัขที่ตั้งครรภ์ และอย่าให้สุนัขอดอาหาร เพราะสุนัขต้องการอาหารเพื่อลูกสุนัขที่แข็งแรงและสุขภาพดี และควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับอาหารสำหรับ สุนัขตั้งครรภ์
ขอบคุณที่มาภาพจาก thelabradorsite
อย่างไรก็ตาม สุนัขที่ตั้งครรภ์ อาจกินบ่อยขึ้น แต่กินในปริมาณที่น้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากอาการแพ้ท้อง ในบางครั้งจำเป็นต้องให้อาหารสุนัขมากขึ้น เพราะมันอาจจะหิวได้ในทันใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายของการ ตั้งครรภ์ในสุนัข เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกสุนัขมีการเจริญเติบโตสูงสุด การเพิ่มอาหารสำหรับสุนัขตั้งท้อง อาจดำเนินต่อไปในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด
นอกจากนี้ สุนัขตั้งท้อง อาจเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อแม่สุนัขและลูกสุนัขได้ ดังนั้น การเปลี่ยนอาหารหรือให้อาหารเสริมควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หากสงสัยว่าสุนัขมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรได้รับการตรวจจากสัตวแพทย์ การเพิ่มแคลเซียมหรือแร่ธาตุ และวิตามินอื่น ๆ มากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อ สุนัขที่ตั้งครรภ์ ได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาสัตวแพทย์
สำหรับการออกกำลังกายนั้น สุนัขตั้งท้องไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะอาจกระทบกระเทือนต่อลูกของมันได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับสุนัขตั้งครรภ์คือ การเดินเล่นเบาๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ และช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ให้แยกสุนัขที่ตั้งท้องออกจากสุนัขและสัตว์อื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน และเพื่อป้องกันเชื้อปรสิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแม่สุนัขและลูกสุนัขได้
ในส่วนของการดูแลรักษาด้วยยานั้น การรักษาสุนัขตั้งท้อง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาให้มากที่สุด แม้จะเป็นยาเพื่อป้องกันปรสิตภายนอกและภายใน เช่น พยาธิตัวกลมและหมัด ก็ต้องอาศัยการรักษาเฉพาะซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากสัตวแพทย์หากไม่ต้องการให้ลูกสุนัขสัมผัสกับปรสิตเหล่านี้ตั้งแต่แรกเกิด
อย่างไรก็ตาม สุนัขจะตั้งท้องราว 63-65 วัน การเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดของสุนัขถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรหาสถานที่ที่เงียบสงบและปลอดภัยเพื่อให้แม่สุนัขคลอดลูกอย่างปลอดภัย โดยก่อนคลอดเมื่อท้องของสุนัขโตขึ้น มันอาจเริ่มแสดงอาการเหนื่อย กระหายน้ำ และหงุดหงิดมากขึ้น สุนัขส่วนใหญ่ต้องการอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของก่อนที่มันจะคลอด
แม้ว่าอาการแสดงของ การตั้งครรภ์ในสุนัข จะมีหลายอย่าง แต่โดยทั่วไปจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงหนึ่งเดือนหลังการผสมพันธุ์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์หากสงสัยว่าสุนัขตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าสุนัขของคุณจะปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์และยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าสุนัขจะให้กำเนิดลูกสุนัขที่แข็งแรง
ที่มา everydayhealth
แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนรักสัตว์และทาสน้องทั้งหลาย ครบเครื่องทั้งวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยง การให้อาหาร และข้อมูลของสัตว์เลี้ยงแปลกๆ รวมมาไว้ให้ทาสน้องที่นี่