การดูแลสัตว์เลี้ยง
วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง

ทำอย่างไรเมื่อสุนัขกินสบู่

สุนัขกินสบู่

ขอบคุณที่มาภาพจาก loveyourdog

สาเหตุที่สุนัขกินสบู่เข้าไป

          ส่วนหนึ่งมาจากความอยากรู้อยากเห็น และวัยของสุนัข เช่น หากเป็น ลูกสุนัข ที่ฟันกำลังงอกมีแนวโน้มที่จะกินหรือเคี้ยวอาหาร และสิ่งของต่าง ๆ มากกว่าสุนัขในวัยอื่น ๆ ดังนั้น เมื่อ ลูกสุนัข อยู่ในวัยกำลังซนและชอบการขบเคี้ยว ควรเก็บสิ่งของอันตรายให้พ้นพวกมัน และหาของเล่นสำหรับลูกสุนัขมาให้มันกัดแทน

นอกจากนี้ กลิ่นหอมของสบู่อาจดึงดูดหรือกระตุ้นให้ สุนัข อยากเลีย อยากเคี้ยวสบู่ เป็นอาหารหรือของว่าง เพราะกลิ่นหอมทำให้ สุนัขสับสนว่ามันเป็นของที่สามารถกินได้หรือไม่

สุนัขกินสบู่

ขอบคุณที่มาภาพจาก pioneersettler

สบู่เป็นอันตรายต่อสุนัขหรือไม่?

          อันตรายของสบู่ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตและปริมาณที่ สุนัขกินสบู่ เข้าไปด้วย ยกตัวอย่าง สบู่ ก้อนบางประเภทมีส่วนผสมของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เรียกว่า โซดาไฟ ขณะที่สบู่เหลวผลิตจากโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งสารเคมีทั้งสองประเภทที่ใช้ในการผลิตมีความเป็นด่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดการไหม้ของปาก หลอดอาหาร และระบบทางเดินอาหารเมื่อสุนัขกินเข้าไปได้

หากเป็นผงซักฟอกชนิดแคปซูลจะอันตรายมากขึ้น เพราะเสี่ยงต่อการระเบิดระหว่างที่มีการบดเคี้ยว นอกจากนี้ในสบู่มักมีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย เมื่อ สุนัขกินสบู่ เข้าไปมักมีอาการ เช่น หากสบู่มีส่วนผสมของน้ำมันสน จะทำให้เกิดอาการอ่อนแรง เป็นอันตรายต่อตับและไต เกิดแผลไหม้ที่ปากหรือหลอดอาหารทำให้รู้สึกไม่สบายตัว โดยสุนัขมักเอามือตะปบที่ปากและเลียปากอยู่บ่อย ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

 

สุนัขกินสบู่

ขอบคุณที่มาภาพจาก loveyourdog

อันตรายจากการที่ สุนัขกินสบู่ ที่พบมากที่สุด

          ได้แก่ ท้องไส้ปั่นป่วน สำลัก อาเจียนเป็นฟอง ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดอย่างรุนแรงหากมีการสูดดมสารนี้เข้าไป และสบู่อาจทำให้เกิดการอุดตันในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้ได้หากรับประทานสบู่แข็งเข้าไปในปริมาณมาก และอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อกำจัดสบู่ออกไป หากสบู่สัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา จะทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้อย่างรุนแรง ส่งผลให้ใบหน้าบวมหรือหายใจลำบาก

เมื่อสุนัขกินสบู่เข้าไปควรทำอย่างไร

          ล้างปากสุนัขด้วยน้ำเปล่า เพื่อเจือจางสบู่และลดความรุนแรงลง หากมีสบู่เข้าตาหรือสัมผัสบริเวณผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดและพาไปพบสัตวแพทย์ทันที แม้ว่าพวกมันจะมีอาการดีขึ้นก็ตาม และอย่าลืมแจ้งส่วนผสมหรือนำฉลากของผลิตภัณฑ์สบู่ไปให้สัตวแพทย์พิจารณาด้วย

          อย่างไรก็ตาม แม้การกินสบู่เพียงเล็กน้อยจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์แม้มันจะมีอาการทุเลาลงก็ตาม เพราะในบางกรณีเราไม่อาจทราบว่าพิษจากสบู่ทำให้ สุนัขป่วย หรือไม่ สัตวแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอาการได้ดีที่สุด เช่น การที่ สุนัขอาเจียน สารระคายเคืองอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณหลอดอาหารได้

          การอาเจียนสารที่เป็นฟองทำให้สุนัขสูดดมฟองอากาศเข้าไปมากขึ้นทำให้หายใจลำบากและปอดบวม สัตวแพทย์อาจวินิจฉัยให้รักษาด้วยการให้ของเหลวผ่านเส้นเลือดดำหรือใช้ยาเพื่อรักษาเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในกรณีสบู่แข็งชิ้นใหญ่ติดอยู่ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้สัตวแพทย์จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดสิ่งอุดตัน ในบางกรณีความเป็นพิษของสบู่รุนแรงจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อตับและไตได้ ดังนั้นการพาไปพบสัตวแพทย์จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

ที่มา loveyourdog